top of page

ความหมายของคำราชาศัพท์
   คำสุภาพที่ใช้กับคน ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ข้าราชการ สุภาพชน
 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
   คำนามราชาศัพท์
   วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์
     ๑) พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
     ๒) พระราช/พระ + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน/เจ้านายในตำแหน่งที่ลดหลั่นกันลงมา ถ้านามนั้นประสมด้วยคำราชาศัพท์อยู่แล้ว จะไม่มี พระ นำหน้า เช่น ฉลองพระองค์ เสื้อทรง รถพระที่นั่ง แต่หากไม่มีนามราชาศัพท์อยู่ก่อน ต้องสร้างราชาศัพท์จากนามเดิม ใช้ พระราช/พระ + คำนามบาลีสันสกฤต หรือ คำนามภาษาอื่น + ราชาศัพท์คำใดคำหนึ่ง เช่น พระราชโทรเลข พระโทรทัศน์ กระเป๋าทรงถือ แก้วน้ำเสวย
     ๓) นามสามัญ + หลวง/ต้น หลวง ใช้กับคน สัตว์ และสิ่งของทั่วไป ต้น ใช้กับสัตว์และสิ่งของชั้นดี
     ๔) ลักษณะนาม พระองค์ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ องค์ ใช้กับพระราชวงศ์ ส่วนในร่างกาย ของเสวย และเครื่องใช้ของกษัตริย์

ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ

นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา

แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่

 

 

คำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต

  1. ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ ฯลฯ

  2. ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ ไพฑูรย์ วิฑาร ฯลฯ

  3. นิยมใช้ รร เช่น กรรณ ขรรค์ ครรภ์ ธรรม พรรษา บรรพต วรรค วรรณะ มหัศจรรย์ สรรพ สวรรค์ สุวรรณ อัศจรรย์ ฯลฯ

  4. นิยมมีอักษรควบกล้ำ เช่น กษัตริย์ เกษตร ตรุษ บุตร ปราชญ์ ปรารถนา พฤกษ์ เนตร ไมตรี ศาสตรา อาทิตย์ ฯลฯ

  5. ใช้ ศ ษ ประสมคำเป็นส่วนมาก เช่น กษัย เกษม เกษียณ ทักษิณ ทัศนีย์ บุษกร บุรุษ เพศ ภิกษุ มนุษย์ วิเศษ ศิลปะ ศิษย์ ศึกษา ศุกร์ ศูนย์ เศียร อักษร อัธยาศัย ฯลฯ ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น พัสดุ พิสดาร สตรี สถาน สถิต สถิติ สถาปนา สนธยา สัตย์ สันโดษ อัสดง ฯลฯ

  6. ประสมด้วยสระ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น ไศล ไศวะ ไวทย์ ไวษณพ ไวยากรณ์ ไวศฺย ไอราวัณ ไอยรา เกาศัย เอารส ฤดี ฤทัย ฤทธิ์ ฤๅษี กฤษณา พฤติกรรม พฤษภาคม ทฤษฎี นฤมล มฤตยู ฦๅชา ฦๅสาย ฯลฯ

  7. มีหลักเกณฑ์ตัวสะกด ตัวตามไม่แน่นอน กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ จักร จันทรา ดัสกร ทรัพย์ นิตยา ประพันธ์ ประพฤติ พยายาม ลักษณะ วิทยุ มนตรี มัตสยา มัธยม ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา อาชญา อาตมา อาจารย์ อุทยาน ฯลฯ

bottom of page